รหัสวิชา 651105 ระบบนิเวศกับสุขภาพ |
|||
หน่วยกิต : 3(3-0-6) |
|||
ผู้รับผิดชอบ : ผศ.สพ.ญ.ดร.วรางคณา ไชยซาววงษ์ | |||
คำอธิบายกระบวนวิชา : ความเชื่อมโยงระหว่างระบบนิเวศกับสุขภาพและผลกระทบต่อมนุษย์
และสัตว์ต่างๆ การบูรณาการองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่ออธิบายผลของความเปลี่ยนแปลงในสังคมพืช
สัตว์ และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะที่จะส่งผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์ |
|||
รหัสวิชา 651106 สุขอนามัยอาหารจากสัตว์สำหรับผู้บริโภค | |||
หน่วยกิต : 2(1-2-3) | |||
ผู้รับผิดชอบ : อ.ดร.มนทิรา อินต๊ะนอน | |||
คำอธิบายกระบวนวิชา : การเลือกซื้อวัตถุดิบและอาหารที่มาจากสัตว์ และสุขอนามัยกระบวนการผลิตตั้งแต่ฟาร์มถึงผู้บริโภค | |||
รหัสวิชา 651416 ความปลอดภัยทางอาหารทางสัตวแพทย์ 1 | |||
หน่วยกิต :: 4(3-3-7) | |||
ผู้รับผิดชอบ : ผศ.สพ.ญ.ดร.ดวงพร พิชผล | |||
คำอธิบายกระบวนวิชา : บทบาทของสัตวแพทย์ในงานอภิบาลอาหารที่มาจากสัตว์ วิธีการเก็บตัวอย่างและตรวจสอบคุณภาพอาหารที่มาจากสัตว์ บทบาทของจุลินทรีย์ โรคที่เกิดจากการบริโภคอาหารตลอดห่วงโซ่อาหาร องค์ประกอบและวิธีการตรวจสอบอาหารที่มาจากสัตว์ การเสื่อมคุณภาพของอาหารที่มาจากสัตว์ วิธีการถนอมอาหารที่มาจากสัตว์ การเลือกใช้วัตถุดิบและวัตถุเจือปนในการผลิตอาหารที่มาจากสัตว์ สิ่งปนเปื้อนและการปลอมปนในอาหารที่มาจากสัตว์ และเทคโนโลยีการผลิตอาหารที่มาจากสัตว์ | |||
รหัสวิชา 651417 ความปลอดภัยทางอาหารทางสัตวแพทย์ 2 | |||
หน่วยกิต : 4(3-3-7) | |||
ผู้รับผิดชอบ : อ.สพ.ญ.ดร.ทองกร มีแย้ม | |||
คำอธิบายกระบวนวิชา : การควบคุมดูแลการผลิตและแปรรูปอาหารที่มาจากสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะ หลักการตรวจคุณภาพเนื้อสัตว์ น้ำนม ไข่ และสัตว์น้ำ สุขาภิบาลอาหาร สุขลักษณะส่วนบุคคล การทำความสะอาดและการใช้สารฆ่าเชื้อโรค การจัดการกับการปนเปื้อนข้าม และระบบมาตรฐานในการผลิตอาหารสำหรับการบริโภคและการส่งออกต่างประเทศตลอดสายการผลิต | |||
รหัสวิชา 651418 อนามัยสิ่งแวดล้อมทางสัตวแพทย์ | |||
หน่วยกิต : 1(1-0-2) | |||
ผู้รับผิดชอบ : อ.ดร.มนทิรา อินต๊ะนอน | |||
คำอธิบายกระบวนวิชา :สุขศาสตร์สิ่งแวดล้อม พิษวิทยาสิ่งแวดล้อม การจัดการสิ่งแวดล้อมและการบำบัดของเสียจากฟาร์มและกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์จากสัตว์ การจัดการสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน การวิเคราะห์ความเสี่ยงและการประเมินความเสี่ยง ระบบการติดตามผลกระทบต่ออนามัยสิ่งแวดล้อม | |||
รหัสวิชา 651419 กฎหมายทางสัตวแพทย์ | |||
หน่วยกิต : 1(1-0-2) | |||
ผู้รับผิดชอบ : รศ.น.สพ.ดร.อนุชา ศิริมาลัยสุวรรณ | |||
คำอธิบายกระบวนวิชา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย กฎหมายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพสัตวแพทย์ กฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม กฎเกณฑ์และข้อตกลงต่างๆ ขององค์การระหว่างประเทศ จรรยาบรรณวิชาชีพสัตวแพทย์ | |||
รหัสวิชา 651424 โรคสัตว์ติดคน | |||
หน่วยกิต : 2(2-0-4) | |||
ผู้รับผิดชอบ : รศ.น.สพ.ดร.อนุชา ศิริมาลัยสุวรรณ | |||
คำอธิบายกระบวนวิชา : การจำแนกโรคสัตว์ติดคน เชื้อสาเหตุ วิธีการติดต่อ สัตว์พาหะ อาการในคนและสัตว์ การป้องกัน การชันสูตรและการรักษาโรคสัตว์ติดคนที่สำคัญจากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย ปรสิต คลามัยเดียและเชื้อรา | |||
รหัสวิชา 651425 ระบาดวิทยาทางสัตวแพทย์ | |||
หน่วยกิต : 3(2-2-5) | |||
ผู้รับผิดชอบ : ผศ.สพ.ญ.ดร.กรรณิการ์ ณ ลำปาง | |||
คำอธิบายกระบวนวิชา :ขอบเขตและความสำคัญของวิชาระบาดวิทยา การเกิดและการแพร่กระจายของโรคในกลุ่มประชากร ตัววัดต่างๆ ทางระบาดวิทยา ความสัมพันธ์และสาเหตุของการเกิดโรค การศึกษาทางระบาดวิทยา การประเมินวิธีตรวจวินิจฉัย การคัดกรองโรค การสอบสวนโรคระบาด การเฝ้าระวังโรคระบาด การป้องกัน ควบคุม และกำจัดโรค อณูชีววิทยาในงานระบาดวิทยา การกำหนดขนาดของตัวอย่างและการสุ่มตัวอย่าง ชีวสถิติ | |||
รหัสวิชา 651562 ทักษะปฏิบัติทางสัตวแพทย์สาธารณสุข | |||
หน่วยกิต : 1(0-3-1) | |||
ผู้รับผิดชอบ : ผศ.สพ.ญ.ดร.วรางคณา ไชยซาววงษ์ | |||
คำอธิบายกระบวนวิชา : การฝึกปฏิบัติเพื่อเพิ่มทักษะในการปฏิบัติงานห้องปฏิบัติการทางด้านสัตวแพทย์สาธารณสุขภายใต้การดูแลของคณาจารย์ | |||
รหัสวิชา 651641 การฝึกปฏิบัติทางสัตวแพทย์สาธารณสุขและโรงงานผลิตเนื้อสัตว์ | |||
หน่วยกิต : 3(0-9-4) | |||
ผู้รับผิดชอบ : ผศ.สพ.ญ.ดร.ดวงพร พิชผล | |||
คำอธิบายกระบวนวิชา : การฝึกทักษะทางสัตวแพทย์สาธารณสุขและการทำหน้าที่ในโรงฆ่าสัตว์ ภายใต้การดูแลของอาจารย์ หรือสัตวแพทย์จากศูนย์สุขภาพสัตว์ ฟาร์ม โรงพยาบาลสัตว์ หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง | |||
รหัสวิชา 651651 ปัญหาการฝึกปฏิบัติทางสัตวแพทย์สาธารณสุขและโรงงานผลิตเนื้อสัตว์ | |||
หน่วยกิต : 3(0-9-4) | |||
ผู้รับผิดชอบ : อ.สพ.ญ.ดร.ทองกร มีแย้ม | |||
คำอธิบายกระบวนวิชา : การฝึกทักษะเพื่อเพิ่มประสบการณ์ทางคลินิก หรือการศึกษาปัญหาที่นักศึกษาสนใจทางสัตวแพทย์-สาธารณสุขและการทำหน้าที่ในโรงฆ่าสัตว์ ภายใต้การดูแลของอาจารย์ หรืออาจารย์พิเศษจากศูนย์สุขภาพสัตว์ ฟาร์ม โรงพยาบาลสัตว์ หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง | |||
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
155 หมู่ 2 ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50100
ติดต่อสอบถาม Tel. 053-948002 , Fax.053-948065
ปรับปรุงครั้งล่าสุด : 25 ตุลาคม 2564