ประชาสัมพันธ์
มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดี
รศ.น.สพ.ภาณุวัฒน์ แย้มสกุล รองคณบดีด้านบริหาร ผู้แทนคณะสัตวแพทยศาสตร์ มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดี รศ.น.สพ.ดร.กรกฎ งานวงศ์พาณิชย์ ในโอกาสได้รับโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง "ศาสตราจารย์" สาขาชีวเวชศาสตร์ (Biomedical Sciences) ข่าวเมื่อวันจันทร์ที่ 27 กันยายน 2564
ถวายจตุปัจจัยแด่พระภิกษุสงฆ์
ทำบุญถวายภัตตาหาร และถวายจตุปัจจัยแด่พระภิกษุสงฆ์ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาคณะสัตวแพทยศาสตร์ ประจำปี 2564 ครบรอบ 27 ปี ในวันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2564 ณ วัดผาลาด (สกทาคามี) จังหวัดเชียงใหม่ แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ทางคณะฯ จึงได้งดเว้นการจัดกิจกรรมร่วมกัน
ตรวจประเมินคุณภาพการศึกษา CMU-EdPEX
ผศ.น.สพ.ดร.ขวัญชาย เครือสุคนธ์ คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ พร้อมคณะผู้บริหารและบุคลากร ให้การต้อนรับคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในตามแนวทาง CMU-EdPEX ประจำปีการศึกษา 2563 ณ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม 2564
ประกาศ/คำสั่ง
บุคคล
เตรียมตัวอย่างไรให้เข้าสู่ ผศ./รศ.ได้ทันเวลา โดย ศ.ดร.น.สพ.กรกฏ งานวงศ์พาณิชย์ ข้อบังคับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการพิจารณาแต่งตั้งและถอดถอน บุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผศ./รศ./ศ. พ.ศ.2565 ตัวอย่างแบบแสดงหลักฐานการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ แบบตรวจสอบรายการเอกสารผลงานวิชาการที่ส่งเพื่อขอกำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ (Checklist) แบบตรวจสอบรายการเอกสารผลงานวิชาการที่ส่งเพื่อขอกำหนดตำแหน่งรองศาสตราจารย์ (Checklist) แบบตรวจสอบรายการเอกสารผลงานวิชาการที่ส่งเพื่อขอกำหนดตำแหน่งศาสตราจารย์ (Checklist) แบบตรวจสอบเอกสารประกอบการขอตำแหน่งทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบบแสดงหลักฐานการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ ข้อบังคับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ว่าด้วย คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการประเมินผลการสอนและเอกสารที่ใช้ประเมินผลการสอนเพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ 2565 ข้อบังคับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ว่าด้วย คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการ พิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งและถอดถอนทางวิชาการ 2565 ข้อบังคับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ว่าด้วยการเทียบตำแหน่งทางวิชาการของพนักงานมหาวิทยาลัย 2565
แบบประเมินผลการสอนและเอกสารประกอบการสอน ประกาศการประเมินเพื่อตรวจสอบและรับรองการเผยแพร่ผลงานวิชาการประเภทหนังสือ หรือตำรา ประกาศการประเมินเพื่อตรวจสอบและรับรองการเผยแพร่ผลงานวิชาการ ประกาศ มช การปรับเงินเพิ่มกรณีผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น แบบแสดงหลักฐานการมีส่วนร่วมในผลงานวิชาการ [Word] แบบแสดงหลักฐานการมีส่วนร่วมในผลงานวิชาการ [PDF] การกำหนดชื่อสาขาวิชาสำหรับการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ แนวปฏิบัติการขอตำแหน่งทางวิชาการของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.2562 แนวทางปฏิบัติตามข้อบังคับ มช. ว่าด้วยการพิจารณาดำรงตำแหน่ง ผศ. รศ. ศ. พ.ศ.2561 ข้อบังคับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล(ฉบับที่ 7) 2562 ผลงานวิชาการรับใช้สังคม ตัวอย่างผลงาน v.1 ความหมายของผู้ดำเนินการหลักและผู้ประสานงานการพิมพ์เผยแพร่ ประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง วารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติและระดับนานาชาติ แบบประเมินคุณภาพของหนังสือ สำเนาเอกสารแบบตรวจสอบตำแหน่งทางวิชาการในการขอตำแหน่งทางวิชาการ ไฟล์ presentation ขอ ผศ.ชรินทร์ เตชะพันธ์ ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน 2561 ข้อบังคับ มช ว่าด้วยคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการประเมินผลการสอนของข้าราชการฯ ข้อบังคับ มช ว่าด้วยคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการประเมินผลการสอนของพนักงานมหาวิทยาลัย กระบวนการขอตำแหน่งทางวิชาการ การนับระยะเวลาการเผยแพร่ผลงานวิชาการประเภทตำราสำหรับกระบวนวิชา ข้อบังคับ มช ว่าด้วยการขอตำแหน่งและถอดถอน ผศ รศ และศ ของข้าราชการ พศ 2561 ข้อบังคับ มช ว่าด้วยการขอตำแหน่งและถอดถอน ผศ รศ และศ ของพนักงานมหาวิทยาลัย พศ 2561 ประกาศ ก.พ.อ. หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้ง ผศ. รศ. ศ. พ.ศ.2560 ประกาศ ก.พ.อ. การกำหนดชื่อ สาขาวิชาสำหรับเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ พ.ศ.2561 เปรียบเทียบข้อบังคับ มช และประกาศ กพอ ในราชกิจจา การนับระยะเวลาผลงานวิชาการประเภทตำรา คู่มือการกรอก กพอ03 ออนไลน์ของอาจารย์
IT
พันธกิจการให้บริการด้าน Internet ด้านอุกรณ์โสตทัศนศึกษา อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ให้บริการด้านซ่อมบำรุงอุกรณ์โสตทัศนศึกษา อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ การพัฒนาระบบสารสนเทศ พัฒนาwebsite เพื่อรองรับการใช้งานของหน่วยงานภายในคณะ การดูแลห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องSmart classroom ห้อง selflearning รวมถึงบริการให้คำปรึกษาปัญหาด้าน IT
ข้อมูล ข่าวสารด้าน IT จากสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ข้อมูลสถิติทางด้านการใช้งาน ระบบ Internet ใช้งานไม่ได้ด้วยสาเหตุต่างๆ
ข้อมูลการจัดซื้อจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์การได้มา ตามปีงบประมาณและข้อมูลการจัดสรรให้กับผู้ใช้ หน่วยงานภายใน
เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (ฉบับล่าสุด) ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยร่างพรบ. ฉบับดังกล่าว เมื่อประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้มีผลบังคับใช้ทันที ยกเว้นเนื้อหาสำคัญที่ว่าด้วยการรวบรวม ใช้ เปิดเผย สิทธิการเข้าถึง การร้องเรียน การรับผิดทางแพ่ง และบทกำหนดโทษที่ให้เวลาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เตรียมความพร้อม จึงจะทำให้มีผลหลังจากวันประกาศใช้ร่างกฎหมายแล้ว 1 ปี[1] แต่ก็ถือว่าเป็นระยะเวลาที่ไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งที่องค์กรต้องเตรียมตัวสำหรับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนั้น เป็นผลมาจากการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ดิจิตอลซึ่งส่งผลให้มีการล่วงละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ภาครัฐต้องมีการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของประชากรในประเทศ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล (Data Security) ครอบคลุมข้อมูลส่วนบุคคลประเภทต่างๆ ตั้งแต่ ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ไปจนถึงอีเมล์ หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน และ อื่นๆ นอกจากนี้ กฎหมายยังคุ้มครองไปถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Data) เช่น เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความเห็นทางการเมือง ความเชื่อ ลัทธิ ศาสนา พฤติกรรมทางเพศประวัติอาชญากรรมข้อมูลทางด้านสุขภาพข้อมูลทางพันธุกรรม และ ข้อมูลชีวภาพ โดยวันนี้ขอหยิบยกสาระสำคัญและแนวทางในการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทยฉบับนี้ ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนไปจากร่างพรบ. คุ้มครองข้อมูลสวนบุคคล (ฉบับเก่า) เล็กน้อย ดังนี้
การขอความยินยอม การเก็บรวบรวม การใช้ หรือ การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าของข้อมูล โดยต้องมีการยอมรับเป็นลายลักษณ์อักษร หรือ ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยขอบเขตการบังคับใช้ในร่างพรบ. ฉบับล่าสุดยังได้ขยายขอบเขตครอบคลุมถึงกรณีผู้ควบคุมข้อมูล (Data Controller) และผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) ที่อยู่นอกประเทศโดยมี 1) การเสนอขายสินค้าหรือบริการแก่เจ้าของข้อมูลซึ่งอยู่ในประเทศ ไม่ว่าจะมีการชำระเงินหรือไม่ และ 2) การเฝ้าติดตามพฤติกรรมของเจ้าของข้อมูลที่เกิดขึ้นในประเทศ
วัตถุประสงค์ในการใช้ข้อมูล ต้องแจ้งเจ้าของข้อมูลถึงวัตถุประสงค์ในการเก็บ ใช้ หรือ เปิดเผย และต้องไม่ใช้ข้อมูลนอกเหนือจากวัตถุประสงค์ที่แจ้ง
การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ถูกเก็บรักษาในประเทศ หรือกรณีการโอนย้ายข้อมูลไปนอกประเทศ ประเทศปลายทางต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลที่เพียงพอ และจะต้องมีการจัดทำรายงานวัดผลการป้องกันข้อมูลตามกฎหมายด้วย
สิทธิของเจ้าของข้อมูล โดยเจ้าของมีสิทธิในการขอเคลื่อนย้ายข้อมูลส่วนบุคคลของตน มีสิทธิขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน รวมถึงมีสิทธิโต้แย้ง หรือ คัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูล เพิ่มเติมจากการมีสิทธิเข้าถึง และขอให้เปิดเผยถึงการได้มาซึ่งข้อมูล ขอให้ลบทำลาย หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่องค์กรต่างๆ นำไปใช้
บทลงโทษมีทั้งโทษทางแพ่ง ทางอาญา และทางปกครอง หากมีการฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนถึง 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 500,000 ถึง 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (สำหรับโทษทางอาญา) และโทษทางปกครองที่ถูกเพิ่มอัตราโทษจากเดิมที่ระหว่าง 100,000 ถึง 500,000 บาทเป็นระหว่าง 1 ถึง 5 ล้านบาท
นอกจากนี้ กฎหมายยังระบุถึงหน้าที่ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือ ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลไว้ชัดเจน โดยหากพูดให้เข้าใจง่ายก็คือ ผู้ควบคุมข้อมูล คือ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดย มีหน้าที่ในการขอความยินยอม บันทึกและป้องกันไม่ให้มีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลโดยมิชอบ และต้องมีมาตรการในการเก็บรักษาข้อมูลที่เหมาะสม เป็นต้น
ส่วนผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล คือ บุคคลหรือนิติบุคคล ที่ทำหน้าที่เก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งจัดทำบันทึก ตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุุคล ยิ่งไปกว่านั้น กฎหมายยังกล่าวถึงเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Privacy Officer) ที่องค์กรจะต้องแต่งตั้งขึ้นมา หากเข้ากรณีดังต่อไปนี้ 1) เป็นหน่วยงานรัฐ 2) เป็นหน่วยงานที่มีข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมาก หรือ 3) มีการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว
พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2560 ก่อนหน้านี้ ร่างพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับใหม่ ผ่านการเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2559 ที่ผ่านมา ล่าสุดประกาศลงราชกิจจานุเบกษาแล้ว โดยมีชื่อว่า “พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560” ( พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ปี2560) โดยรายละเอียด พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 ( พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ปี2560) สามารถอ่านฉบับเต็มได้ที่เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา (คลิกที่นี่) ทั้งนี้ในมาตรา 2 ของพระราชบัญญัตินี้ ระบุว่า ให้บังคับใช้เมื่อพ้นกําหนด 120 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา นั่นหมายความว่าจะบังคับใช้ภายใน 31 พฤษภาคม 2560 พ.ร.บ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ปี 2560 คือร่างแก้ใขของ พ.ร.บ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ปี 2550 ที่ถูกปรับปรุงให้ทันสมัย เหมาะสมกับเวลาและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ดังนั้นโครงสร้างของกฎหมายสองฉบับจึงเหมือนกันเป็นส่วนใหญ่ และแน่นอนกฏหมายทั้งสองฉบับก็ต้องมีส่วนที่แตกต่างกันอยู่หลายประเด็น และหลายๆ ประเด็นก็ถูกตั้งคำถามมากมายว่าเป็นธรรมหรือไม่ เหมาะสมหรือไม่? พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2560 ถูกเริ่มร่างเมื่อปี 2558 และยังคงแก้ใขต่อเนื่องมาถึงปี 2559 ดังนั้น พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2558 ก็คือฉบับเดียวกันกับพ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2560 นั่นเอง
ความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ | โทษจำคุก | โทษปรับ | |
มาตรา 5 | ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน | ไม่เกิน 6 เดือน | ไม่เกิน 10,000 บาท |
มาตรา 6 | ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น | ไม่เกิน 1 ปี | ไม่เกิน 20,000 บาท |
มาตรา 7 | ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน | ไม่เกิน 2 ปี | ไม่เกิน 40,000 บาท |
มาตรา 8 | ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น มิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ | ไม่เกิน 3 ปี | ไม่เกิน 60,000 บาท |
มาตรา 9 | ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือ บางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ | ไม่เกิน 5 ปี | ไม่เกิน 100,000 บาท |
มาตรา 10 | ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ | ไม่เกิน 5 ปี | ไม่เกิน 100,000 บาท |
มาตรา 11 | ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิด หรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของ บุคคลอื่นโดยปกติสุข | - | ไม่เกิน 100,000 บาท |
ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นอันมีลักษณะเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้โดยง่าย | - | ไม่เกิน 200,000 บาท | |
มาตรา 12 | ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 มาตรา 8 หรือมาตรา 11 เป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศหรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ | ตั้งแต่ 1 ปี- 7 ปี | 20,000 บาท-140,000 บาท |
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าว | ตั้งแต่ 1 ปี- 10 ปี | 20,000 บาท-200,000 บาท | |
ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 เป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง | ตั้งแต่ 3 ปี- 15 ปี | 60,000 บาท-300,000 บาท | |
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสามโดยมิได้มีเจตนาฆ่า แต่เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย | ตั้งแต่ 5 ปี- 20 ปี | 100,000 บาท-400,000 บาท | |
มาตรา 12/1 | ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 เป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่บุคคลอื่นหรือทรัพย์สินของผู้อื่น | ไม่เกิน 10 ปี | ไม่เกิน 200,000 บาท |
ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 โดยมิได้มีเจตนาฆ่า แต่เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย | ตั้งแต่ 5 ปี- 20 ปี | 100,000 บาท-400,000 บาท | |
มาตรา 13 | ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือ ในการกระทำความผิดตามมาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 9 มาตรา 10 หรือ มาตรา 11 | ไม่เกิน 5 ปี | 20,000 บาท |
ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา 12 วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม | ไม่เกิน 2 ปี | ไม่เกิน 40,000 บาท | |
มาตรา 14 (1) | นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย แก่ประชาชน อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา | ไม่เกิน 5 ปี | ไม่เกิน 100,000 บาท |
มาตรา 14 (2) | นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคง ในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรือก่อให้เกิด ความตื่นตระหนกแก่ประชาชน | ไม่เกิน 5 ปี | ไม่เกิน 100,000 บาท |
มาตรา 14 (3) | นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา | ไม่เกิน 5 ปี | ไม่เกิน 100,000 บาท |
มาตรา 14 (4) | นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูล คอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ | ไม่เกิน 5 ปี | ไม่เกิน 100,000 บาท |
มาตรา 14 (5) | ผู้ใดเผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ ตาม (1) (2) (3) หรือ (4) | ไม่เกิน 5 ปี | ไม่เกิน 100,000 บาท |
มาตรา 15 | ผู้ให้บริการผู้ใดให้ความร่วมมือ ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจให้มีการกระทำความผิด ตามมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน | เช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตาม มาตรา 14 | |
มาตรา 16 | ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลง ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย | ไม่เกิน 3 ปี | ไม่เกิน 200,000 บาท |
ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำต่อภาพของผู้ตาย และการกระทำนั้นน่าจะทำให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย | ไม่เกิน 3 ปี | ไม่เกิน 200,000 บาท |
Contact
Location:
Mae Hia, Muang, Chiang Mai, 50100, THAILAND.
Email:
dean.vet@cmu.ac.th
Call:
Tel. 66-53-948026, 66-53-948002 Fax. 66-53-948065